วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวโน้ม เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในอนาคต เเปลก

   บล็อกนี้สนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในอนาคต เพราะการดำเนินชีวิตของมนุษย์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งนั้น เทคโนโลยีในปัจจุบันได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาศักยภาพ ประสิทธิภาพความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ปลอดภัยเพิ่มขึ้นมากเลยทีเดียว โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช่ในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการเติบโตของเทคโนโลยีและการแข่งขันกันสูง จึงทำให้ในองค์กรต่างๆต้องมีการพัฒนาองค์กรให้เป็นในแบบดิจิตอล หรืออิเลกทรอนิกยิ่งขึ้น เพราะการนำเทคโนโลยีมาใช้ปฏิบัติงานภารกิจต่างๆในองค์กรนั้นสามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี เพราะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรสามารถทำให้การทำงาน การประมวลผลข้อมูลมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดั่ง เช่น เอชพี แสกนเจช ที่สามารถแปลเอกสารเป็นดิจิตอลไฟล์ได้ นับเป็นก้าวที่พัฒนาขององค์กรเป็นอย่างมาก ที่ไม่ต้องเสียเวลาแปลงข้อมูลเอกสารโดยตนเอง ซึ่งเป็นทั้งการประหยัดแรงงาน และ เวลา ที่สำคัญยังได้ข้อมูลที่แม่นยำด้วย จึงสามารถมองไปถึงอนาคตได้ว่าเทคโนโลยีกับองค์กรจะมีความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้นอย่างแยกไม่ออก องค์กรต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีมากขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าเทคโนโลยียังมีการพัฒนาไม่หยุดหย่อน ประชากรพนักงานก็ต้องว่างงานมากขึ้น เพราะอาจไม่จำเป็นต้องพึ่งกำลังคนต่อไป ซึ่งส่วนนี้ก็อาจเป็นอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีเข้ามาในองค์กรเช่นกัน แต่ในทางกลับกันอีกในอนาคตพนักงานอาจไม่ต้องมาทำงานถึงบริษัท แค่นั่งเปิดเครือข่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่บ้านด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวก็อาจเป็นสิ่งสะดวกในการไม่ต้องเดินทาง ซึ่งเป็นการเอาร์ซอท งานออกไปจากบริษัทเพื่อความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในอนาคตอาจจะได้เห็นการพัฒนาขององค์กรภาครัฐไปสู่ความเป็นยุคไฮเทคมากยิ่งขึ้นและในเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่นอกเหนือจากในองค์กรแล้ว เทคโนโลยีที่ใกล้ตัวเราเช่นหน้าจอการแสดงผล ที่เราเคยพบเจอในแบบlcdบางๆ แต่มันได้มีการพัฒนามาสู่หน้าจอแบบม้วนพับได้ หรือโอแอลอีดี ซึ่งในอนาคตข้างหน้าเราอาจได้จำเป็นต้องใช้มัน เราเห็นการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะในสัปดาห์ที่แล้วทางเราก็ได้เพิ่งนำเสนอจอlcdที่เป็นทีวีรุ่นใหม่ แต่ผ่านไปเพียงสัปดาห์เดียวก็ได้เห็นพัฒนาการที่จะเกิดเป็นแบบม้วนพับได้ พกพาสะดวกสบายอย่างโอแอลอีดี จึงเป็นไปได้ว่า ในอนาคตคงน่าทึ่งกว่านี้อาจจะเป็นหน้าจอล่องหนไปเลยก็ได้ ในเมื่อการพัฒนาในสิ่งที่เป็นhardware ได้พัฒนาไปไม่มีที่สิ้นสุด การพัฒนาsoft ware ก็ได้พัฒนาไปเรื่อยๆเช่นกัน เพื่อการทำงานที่ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น ดังเช่นการพัฒนาของกูเกิ้ล เกียส ที่จะมีการพัฒนาระบบเป็นแบบoffline ขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามันต้องการที่จะให้เข้าถึงประชาขนได้ง่ายยิ่งขึ้น และเป็นธุรกิจสำคัญที่ต้องมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เพื่อความนิยมใช้งานง่ายสะดวกสบายต่อประชาชนทุกภาคส่วนในอนาคตเราจึงอาจได้เห็นสิ่งที่เรียกว่ากูเกิ้ล เกียสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมันสามารถทำให้เราสืบค้นข้อมูลต่างๆได้ง่ายรวดเร็วยิ่งขึ้นไป และอาจจะเห็นการพัฒนาซอฟแวร์ต่างๆขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วย และที่สำคัญพวกhardware ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับsoft wareที่จะเกิดขึ้นด้วย ทุกส่วนจึงย่อมมีความสัมพันธ์กัน

ประวัติของ Notebook ตัวเเรก เเจ๋วมากกก

Dynabook Firt Imagine for Notebook     โน๊ตบุ๊คตัวแรกของโลกที่บันทึกไว้ จริงๆ เป็นเพียงการเขียนหรือจินตนาการคอมพิวเตอร์ที่พกพาได้ เกิดในปี 1970 ก็ราวๆ พ.ศ. 2513 เป็นเพียงจินตนาการตั้งแต่ปี 1968 โดย Alan Kay ที่ Xerox PARC ซึ่งตั้งชื่อไว้ว่า "Dynabook"
 การผลิตที่เป็นเรื่องเป็นราวหรือจะทำเป็นการค้า มาเกิดในปี 2516 โดยใช้ Palm Processor คำว่า Palm มาจากคำว่า Put All Logic In Microcode เป็นโครงการที่คิดค้นของ IBM และหลังจากนั้นในปี 2518 ก็เกิด I.B.M. 5100 เป็นคอมพิวเตอร์พกพา(Portable Computer) เพื่อการค้าเป็นจริงเป็นจัง CPU ที่ใช้ตอนนั้น 8 bit ไม่ต้องตกใจครับแค่นี้จริงๆ ไม่ต้องเอามาเทียบในปัจจุบันไม่รู้กี่ล้านเท่า แต่เป็นจุดเริ่มที่สำคัญ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เกิดการผลิตขึ้นอย่างเป็นจริงเป็นจัง
และโน๊ตบุ๊ตตัวแรกที่พอจะมี Function การใช้งานที่ครบสมบูรณ์คือ เจ้า Osborne 1 ผลิตโดยAdam Osborne วางขายปี 1981 ราคาตอนนั้น 1,795 ดอลลาร์ ใช้ CPU Zilog Z80 หนัก 10.7 กิโลกรัม แบตเตอรี่อายุสั้นมาก หน้าจอแบบ CRT ขนาด 5 นิ้ว ใช้ระบบปฏิบัติการ CP/M (Control Program for Microcomputers) สามารถใช้ Software ได้หลายตัว CBasic/MBasic ของ Microsoft, Dbase II, Purchase Ledger และสำหรับพิมพ์งาน Wordstar ตัวนี้ได้การยอมรับเป็นโน๊ตบุ๊คตัวแรกของโลก แต่ไม่ประสบผลสำเร็จด้านการค้า คงเป็นเพราะหน้าจอ น้ำหนักและแบตเตอรี่

ประวัติสงครามโลกยุค nazi

ผู้บังคับบรรชา                สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุติลงในปี 1918 ด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ฝ่ายพันธมิตรในขณะนั้นประกอบด้วย อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (the Varsailles treaty) เพื่อจำกัดสิทธิของเยอรมัน ในอันที่จะเป็นภัยคุกคามอีกครั้ง สนธิสัญญาแวร์ซายลงนามในวันที่ 28 มิ.ย. 1919 ส่งผลให้กองทัพเยอรมันถูกจำกัดขนาดให้เล็กลง ดินแดนต่างๆ ถูกริบ หรือยึดครอง ดังที่ปรากฏในแผนที่ข้างบน อาทิ ฝรั่งเศสเข้าครอบครองอัลซาส ลอเรนน์ (Alsace-Lorranine) เบลเยี่ยมยึดอูเปนและมาลเมดี (Eupen, Malmedy) โปแลนด์เข้าครอง Posen และปรัสเซียตะวันออกบางส่วน ดานซิก (Danzig) กลายเป็นรัฐอิสระ ฝรั่งเศสเข้าควบคุมเหมืองถ่านหินในแคว้นซาร์ (Saar) แลกกับการที่เยอรมันทำลายเหมืองถ่านหินของตน ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ กลายเป็นเขตปลอดทหาร (Demilitarized) และยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรลึกเข้าไป 30 ไมล์ นอกจากนี้เยอรมันยังต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินอีก 6,600 ล้านปอนด์
ในเดือนมกราคม 1933 อดอฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคนาซี ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง Chancellor ของประเทศเยอรมัน และเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศในที่สุด (Fuhrer) ในปี 1935 ฮิตเลอร์ได้เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังตกต่ำอย่างรวดเร็ว และในวันที่ 16 มีนาคม 1935 ฮิตเลอร์ก็ประกาศเสริมสร้างกองทัพเยอรมันขึ้นใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย แต่เนื่องจากนโยบายต่างประเทศของเขา ที่พยายามแสดงให้พันธมิตรเห็นว่า เขาไม่ใช่ภัยคุกคามต่อพันธมิตร และเป็นผู้ที่ต้องการสันติภาพเช่นเดียวกับอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงแต่ต้องการฟื้นฟูประเทศเยอรมันที่ตกต่ำเท่านั้น ทำให้พันธมิตรนิ่งเฉยต่อการดำเนนิการของฮิตเลอร์ และแล้วในเดือนมีนาคม 1936 เขาก็ส่งทหารกลับเข้าไปยึดครองแคว้นไรน์ ที่ตามสนธิสัญญาแวร์ซายกำหนดให้เป็นเขตปลอดทหาร พร้อมๆกับส่งทหารเยอรมันเข้าสนับสนุน กองกำลังชาตินิยมของนายพลฟรังโก ในสงครามกลางเมืองในสเปน และลงนามเป็นพันธมิตรกับมุสโสลินีของอิตาลี เดือนมีนาคม 1938 ผนวกออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดอาณาจักรใหม่ของเยอรมัน นั่นคือ อาณาจักรไรซ์ที่สาม (the Third Reich - new German Empire) จากนั้นก็เข้ายึดครองตอนเหนือของเชคโกลโลวะเกียในเดือนกันยายน 1938 และยึดครองทั้งประเทศใน มีนาคม 1939 พร้อมๆกันนั้นฮิตเลอร์ก็เข้ายึดคองเมืองท่าเมเมล (Memel) ของลิธัวเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายเยอรมัน จากนั้นก็ยึดดานซิกและส่วนที่แบ่งแยกเยอรมัน กับปรัสเซียตะวันออกของโปแลนด์

รุ่งอรุณของวันที่ 1 กันยายน 1939 เครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมัน หรือลุฟวาฟ (Luftwaffe) ก็เริ่มต้นการทิ้งระเบิดถล่มจุดยุทธศาสตร์ในประเทศโปแลนด์ พร้อมๆกับกำลังรถถังและทหารราบ ก็เคลื่อนกำลังผ่านชายแดนโปแลนด์เข้าไปอย่างรวดเร็ว เป็นครั้งแรกที่โลกได้เห็นสงครามสายฟ้าแลบ (Blitzkeieg) ที่ใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดนำ ตามด้วยยานเกราะและทหารราบ เข้าบดขยี้หน่วยทหารโปแลนด์ที่เสียขวัญ จากการทิ้งระเบิดของเครื่องบิน วันที่ 2 กันยายน อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศพันธมิตรของโปแลนด์ ยื่นคำขาดต่อฝ่ายเยอรมัน ให้ถอนทหารออกจากโปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์ปฏิเสธ วันที่ 3 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสและอังกฤษ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อจากนี้ไป โลกจะนองไปด้วยเลือดและน้ำตา อีกเป็นเวลากว่า 5 ปี

พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของไทย



                  พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๐๙๘- ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘) 

ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ ค่ะ ทรงเป็นโอรสของ สมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยา และทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) ดังนั้นพระองค์จึงทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช

การรบที่บางระจัน มันมาก

                                 


เบื้องหลัง [แก้]

พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกมาจากพม่า ซึ่งแต่เดิมแล้วมีภารกิจที่จะปราบปรามกบฏต่ออาณาจักรพม่าเท่านั้น แต่เนื่องจากความอ่อนแอของอาณาจักรอยุธยา เนเมียวสีหบดีจึงตั้งเป้าหมายที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไปด้วย
ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีรุกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาจากทางเหนือ ได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน
ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 7 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอก และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งซ่องสู้กับกองทัพพม่า

การเข้าตีค่ายบางระจัน [แก้]

การรบครั้งที่ 1
ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ 100 เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน 200 ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย
การรบครั้งที่ 2
เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล 500 มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น 700 คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ 2
การรบครั้งที่ 3
เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น 900 คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ
การรบครั้งที่ 4
การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าขยาดฝีมือคนไทย จึงหยุดพักรบประมาณ 2-3 วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ1,000 คน ทหารม้า 60 สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล 200 พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล 200 ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีกเป็นลำดับ
การรบครั้งที่ 5
พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ 10-11 วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป
การรบครั้งที่ 6
นายทัพพม่าครั้งที่ 6 นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล 100 เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย
การรบครั้งที่ 7
เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1,000 เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 1,000 เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน
การรบครั้งที่ 8
การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายยับเยินทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และทหารพม่าก็พากันเกรงกลัวฝีมือไทย ไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รับตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล 2,000 พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง 3 ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง) ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ 4 นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2309 หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ 2 กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 (วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2309) รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้
          THE END 

วันสงกรานต์ ประวัติวันสงกรานต์ ตำนานสงกรานต์

                              


อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือ .......

               อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมันAlbert Einstein - อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"
หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์ ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะ ความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์สไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ให้เป็นเครื่องหมายการค้า
ตัวไอน์สไตน์เองมีความระลึกถึงผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีผลมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เขาได้เป็นปูชนียบุคคลแห่งความบรรลุทางปัญญา เขายังคงถูกยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน ทุกการสร้างสรรค์ของเขายังคงเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งในความเชื่อในความสง่า ความงาม และความรู้แจ้งเห็นจริงในจักรวาล (คือแหล่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่) เป็นสูงสุด ความชาญฉลาดเชิงโครงสร้างของเขาแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของจักรวาล ซึ่งงานเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านผลงานและหลักปรัชญาของเขา ในทุกวันนี้ ไอน์สไตน์ยังคงเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุด ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และนอกวงการ
Einstein1921 by F Schmutzer 2.jpg